ดอกไม้กินได้ กับทฤษฎีการจับคู่สี ใน color wheel
by Flowers You Can Eat 0914582556
สี เป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นในดอกไม้ สีสันเพิ่มความน่าสนใจในอาหาร หรือเติมแต่งสีที่ขาดให้ครบสมบูรณ์แบบ และทำให้อาหารดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น ท่านลองนึกถึงส้มตำ ถ้าขาดสีแดงไปจะเป็นอย่างไรบ้างคะ ดูจืดและไม่น่ากินใช่ไหม เพราะสีมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ถ้าหากสีขาดไปแล้วอาหารของเราก็จะดูไม่โดดเด่น
วันนี้ Flowers You Can Eat จะมาสอนการจับคู่สี เพื่อทำให้อาหารของเราดูน่ารับประทาน และสามารถเพิ่มสีของดอกไม้เข้าไปช่วยเติมแต่งสิ่งที่ขาดได้ค่ะ
โดยจะมีทฤษฎีการจับคู่สีแบบพื้นฐานดังต่อไปนี้
- สีข้างเคียง (Analogous Colours) เป็นการเลือกใช้สีที่อยู่ข้างๆและเป็นสีโทนโทนเดียวกันอย่างลงตัว
ตัวอย่าง น้ำบลูฮาวายสีฟ้าเข้ม สีหลักคือสีฟ้าเข้ม ถ้าเราจะแต่งด้วยคู่สีแบบสีข้างเคียง เราก็จะใช้ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตสีฟ้า แล้วแซมด้วยใบไม้สีเขียว ก็จะทำให้เครื่องดื่มบลูฮาวายนี้มีสีที่น่าสนใจมากขึ้นจากการเติมสีเข้าไปตามหลักสีข้างเคียง
2. สีคู่ตรงข้าม (Complementary Colours) เป็นการใช้สีตรงกันข้ามกับสีหลัก
ตัวอย่าง เค้กสตอเบอรี่สีแดง สีหลักคือสีแดงในเค้ก เราอยากเติมสีแบบคู่สีตรงกันข้ามก็เพิ่มใบไม้สีเขียวลงไป หรือผลไม้สีเขียวก็ทำให้อาหารดูโดดเด่นขึ้นมามากๆ
3. สีแบบสมดุลรูปสามเหลี่ยม (Triadic Colours) การใช้งานคู่สีนี้ เราต้องเลือกให้สีใดสีหนึ่งโดดเด่นมากที่สุด แล้วลดสัดส่วนของสีอื่นๆตามลงมา
เช่น พานาค็อตต้ามะม่วงสุก สีหลักที่โดดเด่นคือสีเหลือง นำดอกกุหลาบหนูสีแดงวางไว้ตรงกลาง โรยด้วยดอกฟอร์เก็ตมีน็อตสีฟ้าดอกเล็กไว้ข้างๆเพียงเล็กน้อย
4. สีใกล้เคียงกับสีคู่ตรงข้าม (Split-Complementary Colours) หรือที่เรียกสามเหลี่ยมหน้าแคบ
ตัวอย่าง เยลลี่สตอเบอรี่ สีหลักคือสีแดง วางดอกไวโอล่าสีฟ้าลงไปตรงกลางเสียบใบไม้สีเขียวลงไปหรือผลไม้สีเขียวก็จะได้คู่สีที่ครบ
5. คู่สีแบบสีเหลี่ยมจัตตุรัจ (square) เป็นการจัดคู่สีที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และมีสีที่หลากหลายซึ่งเหมาะทั้งอาหาร และของหวาน
ตัวอย่าง กุ้งในซอสเลม่อน สีหลักในจานเป็นกุ้งตัวโตสีส้ม ที่มีเปอร์เซ็น 40% ซอสที่หยดอยู่ด้านข้างสีเหลือง 30% และเปอร์เซ็น30 % ที่เหลือ จะเป็นดอกไม้หรือวัตถุดิบอื่นๆที่เป็นสีน้ำเงินหรือฟ้า โดยอาจจะใส่ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตเล็กๆบนซอส 10% และอีก 20% เป็นดอกไวโอล่าสีน้ำเงินที่วางอยู่ข้างข้าวๆตัวกุ้ง
6. คู่สีแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า rectagular
ตัวอย่าง สลัดผัก สีหลักคือ สีเขียว มีเปอร์เซ็นสี 50 % โรยมะเขือเทศสีเหลืองลงไป 10% ขูดกะหล่ำม่วงไป 20% ตกแต่งด้วยกลีบดอกอัญชัญสีน้ำเงินไปอีก 20% ก็ทำให้สลัดดูโดดเด่นตามคู่สี
นี่เป็นตัวอย่างของการนำทฤษฎีสีมาช่วยในการจัดตกแต่งอาหาร เพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเลือกใช้สีวัตถุดิบมาดูตัวอย่างการตกแต่งอาหาร เครื่องดื่ม และขนมหวานตามคู่สี ดังตัวอย่างดังนี้
Moon Milk สีหลักคือสีชมพู(แดงอ่อน) เราจึงจัดโทนสีแบบสีข้างเคียงโดยเลือกใช้ดอกกุหลาบสีชมพูมาโรยไว้บนฟองนม
สโคน จัดแบบ สามเหลี่ยมหน้าแคบ จะเห็นได้ว่ามีสีหลักคือสีส้มอ่อน โดยในสามเหลี่ยมหน้าแคบจะตรงกับมีส้มผสมเหลือง(ตัวสโคน) ม่วงผสมฟ้า และฟ้า โดยนำดอกไวโอล่าแห้งสีม่วงนำมาวางบนตัวสโคนเพื่อสร้างการดึงดูดสายตา ซึ่งเราจะใส่เพียงเล็กน้อยนะคะเพื่อให้เห็นตัวขนมที่เป็นสโคน ส่วนสีฟ้าเราใช้เป็นกลีบดอกโรยไปด้านล่างเพื่อสร้างอารมณ์ที่อ่อนโยนราวกับกลีบดอกไม้ที่ร่วงหล่นมาบนตะกร้า
ส่วนไอศครีมจะเห็นว่าสีหลักมีแดงอ่อนและสีเหลือง เราได้เลือกการจัดสีแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งจะตกไปที่สีเขียวผสมฟ้า และสีม่วงผสมฟ้า
การจัดเค้กที่มีโทนพื้นอย่างสีขาว ซึ่งเราได้เลือกการจับคู่สีแบบสีเหลียมผืนพ้า โดยให้สีหลักคือสีแดง และคู่สีกับ เหลือง เขียว ม่วง
วัตถุดิบที่เลือกใช้มาตกแต่ง
ไวโอล่าแห้ง สีม่วงและสีเหลือง
กลีบดอกกุหลาบสีแดง
น้ำตาลผสมสีดอกไวโอล่าเหลือง
ใบเลมอนไทม์แบบทับแห้ง
เป็นการใช้ทฤษฎีคู่สีให้เหมาะสำหรับการตกแต่งอาหารโดยใช้สีของดอกไม้กินได้มาช่วยเติมเต็มในส่วนที่ขาด หากท่านยังไม่กระจ่าง เรามีคลิปวีดีโอสาธิตการตกแต่งอาหารด้วยดอกไม้กินได้โดยใช้ทฤษฎีคู่สี แบบวงล้อ color wheel ในคลิปดังต่อไปนี้
แต่งเค้กอย่างไรให้เหมือนไปคาเฟ่ โดยใช้ดอกไม้กินได้ จับคู่สีในcolor wheel
ดอกไม้กินได้กับสีเพื่อการตกแต่ง จับคู่สีใน color wheel
เป็นอย่างไรบ้างคะ ลองจัดคู่สีกับอาหารของคุณ ถ้าลองทำแล้วแชร์กันได้ที่ Flowers You Can Eat
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น